โครงสร้างของเซลล์พืช

โครงสร้างของเซลล์พืช

         
            เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจประกอบขึ้นจากเซลล์เพียงหนึ่งเซลล์ จึงทำให้มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็อาจประกอบขึ้นจากเซลล์จำนวนมาก โดยมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน
     

              ผนังเซลล์เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา
(ไม่พบในเซลล์สัตว์ ) ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลส
ซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิตเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส
เช่น เฮมิเซลลูโลส  เพกทิน  ซูเบอริน คิวทิน ลิกนิน ผนังเซลล์มัีกยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าออกสะดวก  มีช่องเล็ก ๆ ติดต่อระหว่างเซลล์ เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)



2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
           เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ
8.5  - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์
        ทำหน้าที่ รักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่าง
เซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
        โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดเรียงตัวเป็น
2  ชั้น (lipid bilayer) โดยหันปลายข้างที่มีขั้ว ( ชอบน้ำ ) ออกด้านนอก  หันปลายข้างที่ไม่มีขั้ว
ไม่ชอบน้ำ ) เข้าด้านใน มีโปรตีน คอเลสเทอรอล ไกลโคลิพิด ไกลโคโปรตีน แทรกอยู่
การเรียงตัวแบบนี้เรียกว่า ฟลูอิดโมเซอิกโมเดล ( Fluid mosaic model )

                                
   เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) เนื่องจากเยื่อบาง ๆ
ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงสามารถหลุดออกจากกัน และ
เชื่อมต่อกันได้ เช่น การเกิดเวสิเคิลของไลโซโซม  การสร้างแวคิวโอล   ก่อให้เกิดการลำเลียงสาร
ขนาดใหญ่เข้าและออกจากเซลล์ รวมทั้งการย่อยอาหารและสิ่งแปลกปลอมในเซลล์          



3. นิวเคลียส (Nucleus)
           มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์ เมื่อย้อมสี จะติดสีเข้มทึบ สังเกตได้ชัดเจน
ปกติเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั่วไปจะมีนิวเคลียสเพียง 1  นิวเคลียส
       
 โครงสร้างนิวเคลียสแบ่งออกเป็น  2  ส่วน คือ
         เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelop , nuclear membrane)
เป็นเยื่อบาง ๆ  2 ชั้น  แต่ละชั้นประกอบด้วยลิพิดเรียงตัว  2 ชั้น
มีโปรตีนแทรกเป็นระยะๆ มีช่องเล็กๆ ทะลุผ่านเยื่อหุ้ม
       นิวคลีโอพลาซึม คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ใน เยื่อหุ้มนิวเคลียส 


       เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า เซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic cell) ได้แก่
เซลล์ของพืช สัตว์ โพรทิสต์
      เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า เซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic cell) ได้แก่
แบคทีเรีย  สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

      

4. ไซโทพลาซึม(Cytoplasm)
         เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน
      เป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว มีประมาณ 50 - 60 %  ของปริมาตรเซลล์
ทั้งหมด หรือประมาณ 3 เท่าของปริมาตรนิวเคลียส
      บริเวณติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า เอ็กโทพลาซึม บริเวณด้านในเรียกว่า เอ็นโดพลาซึม
เซลล์บางเซลล์ ไซโทพลาซึมจะไหลไปรอบ ๆ เซลล์ เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis) ซึ่งเกิดจาก
การหดตัวและการคลายตัวของไมโครฟิลาเมนท์
       บริเวณเอนโดพลาซึมค่อนข้างเหลว เป็นที่อยู่ของออร์แกเนลล์ต่าง ๆ เช่น แวคิวโอล
ไรโบโซม ไมโทคอนเดรีย ภายในไซโทซอลอาจพบโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ก้อนไขมัน เม็ดสีต่าง ๆ 




5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum)
      เป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่
มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส และเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของ
เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มี  2  ชนิด คือ
      เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER)
เพราะมีไรโบโซมมาเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ
      เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER)
เพราะไม่มีไรโบโซมมาเกาะผิวจึงดูเรียบ
                   

       ER ทั้งสองชนิดมีท่อเชื่อมถึงกัน
       RER เป็นบริเวณที่ไรโบโซมสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งบรรจุในเวสิเคิล และลำเลียง
ออกนอกเซลล์ หรือส่งต่อไปยังกอลจิคอมเพล็กซ์ หรือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
       SER ทำหน้าที่สังเคราะห์สารสเตรอยด์  เช่น  ฮอร์โมนเพศ ไตรกลีเซอไรด์
และสารประกอบคอเลสเทอรอล  รวมทั้งยังกำจัดสารพิษและควบคุมการผ่านเข้าออกของ
แคลเซียมไอออนในเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ
      SER มีมากในเซลล์สมอง  ต่อมหมวกไต  อัณฑะและรังไข่

6. แวคิวโอล (Vacuole)
        คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ
ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

    6.1 คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล(contractile vacuole)
           ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม      
                         
                                                                   
           
 6.2 ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) 
      บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวและ
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว                        



   6.3 แซบแวคิวโอล (sap vacuole)
        พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่
มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล สารพิษ     


7. คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
        พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติดที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายใน นั่นคือคลอโรฟีล (Chloroohyll) ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
           มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)



9. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus)
        มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่ง ต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์
        ส่วนประกอบเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเซลล์พืชที่ทำงานร่วมกัน ประสานกัน ทำให้พืชมีชีวิตอยู่ ช่วยสร้างออกซิเจนให้เราหายใจ และเป็นอาหารให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงสร้างเซลล์สัตว์

โครงสร้างเซลล์สัตว์      โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์สัตว์           1.   เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell mem...