ผนังเซลล์เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช
สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา
(ไม่พบในเซลล์สัตว์ )
ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลสซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน
เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิตเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส เช่น เฮมิเซลลูโลส เพกทิน
ซูเบอริน คิวทิน ลิกนิน ผนังเซลล์มัีกยอมให้สารต่าง ๆ
ผ่านเข้าออกสะดวก มีช่องเล็ก ๆ
ติดต่อระหว่างเซลล์ เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell
membrane)
เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม
พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ8.5 - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์
ทำหน้าที่
รักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดเรียงตัวเป็น2
ชั้น (lipid bilayer) โดยหันปลายข้างที่มีขั้ว (
ชอบน้ำ ) ออกด้านนอก
หันปลายข้างที่ไม่มีขั้ว( ไม่ชอบน้ำ ) เข้าด้านใน มีโปรตีน
คอเลสเทอรอล ไกลโคลิพิด ไกลโคโปรตีน แทรกอยู่การเรียงตัวแบบนี้เรียกว่า
ฟลูอิดโมเซอิกโมเดล ( Fluid mosaic model )
เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable
membrane) เนื่องจากเยื่อบาง ๆของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์
มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงสามารถหลุดออกจากกัน และเชื่อมต่อกันได้ เช่น
การเกิดเวสิเคิลของไลโซโซม
การสร้างแวคิวโอล
ก่อให้เกิดการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าและออกจากเซลล์
รวมทั้งการย่อยอาหารและสิ่งแปลกปลอมในเซลล์
3. นิวเคลียส (Nucleus)
มีลักษณะค่อนข้างกลม
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์
เมื่อย้อมสี จะติดสีเข้มทึบ สังเกตได้ชัดเจนปกติเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ทั่วไปจะมีนิวเคลียสเพียง 1 นิวเคลียส
โครงสร้างนิวเคลียสแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelop , nuclear
membrane)
เป็นเยื่อบาง ๆ 2
ชั้น
แต่ละชั้นประกอบด้วยลิพิดเรียงตัว 2 ชั้น
มีโปรตีนแทรกเป็นระยะๆ มีช่องเล็กๆ
ทะลุผ่านเยื่อหุ้ม นิวคลีโอพลาซึม คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ใน เยื่อหุ้มนิวเคลียส
เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า เซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic
cell) ได้แก่ เซลล์ของพืช สัตว์ โพรทิสต์ เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า เซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic
cell) ได้แก่แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
4. ไซโทพลาซึม(Cytoplasm)
เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่าง ๆ
เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน
เป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว มีประมาณ 50 - 60 % ของปริมาตรเซลล์
ทั้งหมด หรือประมาณ 3 เท่าของปริมาตรนิวเคลียส
บริเวณติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า เอ็กโทพลาซึม บริเวณด้านในเรียกว่า
เอ็นโดพลาซึมเซลล์บางเซลล์ ไซโทพลาซึมจะไหลไปรอบ ๆ
เซลล์ เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis) ซึ่งเกิดจากการหดตัวและการคลายตัวของไมโครฟิลาเมนท์
บริเวณเอนโดพลาซึมค่อนข้างเหลว เป็นที่อยู่ของออร์แกเนลล์ต่าง ๆ เช่น
แวคิวโอล ไรโบโซม ไมโทคอนเดรีย
ภายในไซโทซอลอาจพบโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ก้อนไขมัน เม็ดสีต่าง ๆ
5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic
Reticulum)
เป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ
ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส
และเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มี 2 ชนิด คือ
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวขรุขระ (rough endoplasmic
reticulum : RER)
เพราะมีไรโบโซมมาเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวเรียบ (smooth endoplasmic
reticulum : SER)
เพราะไม่มีไรโบโซมมาเกาะผิวจึงดูเรียบ
ER ทั้งสองชนิดมีท่อเชื่อมถึงกัน
RER เป็นบริเวณที่ไรโบโซมสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งบรรจุในเวสิเคิล และลำเลียง
ออกนอกเซลล์ หรือส่งต่อไปยังกอลจิคอมเพล็กซ์
หรือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
SER ทำหน้าที่สังเคราะห์สารสเตรอยด์
เช่น ฮอร์โมนเพศ ไตรกลีเซอไรด์และสารประกอบคอเลสเทอรอล
รวมทั้งยังกำจัดสารพิษและควบคุมการผ่านเข้าออกของแคลเซียมไอออนในเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ
SER มีมากในเซลล์สมอง ต่อมหมวกไต อัณฑะและรังไข่
6. แวคิวโอล (Vacuole)
คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า
โทโนพลาสต์ (tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ
บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ
แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
6.1 คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล(contractile vacuole)
ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์
อะมีบา พารามีเซียม
6.2 ฟูดแวคิวโอล (food vacuole)
บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน
เซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
6.3 แซบแวคิวโอล (sap vacuole)
พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ
มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน
น้ำตาล สารพิษ
7. คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติดที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายใน
นั่นคือคลอโรฟีล (Chloroohyll) ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี
ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP
ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)
9. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus)
มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน
ตัดแต่ง ต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ
ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์
ส่วนประกอบเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเซลล์พืชที่ทำงานร่วมกัน ประสานกัน
ทำให้พืชมีชีวิตอยู่ ช่วยสร้างออกซิเจนให้เราหายใจ
และเป็นอาหารให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้
ที่มา
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66646/-blo-scibio-sci-
อ่านเพิ่มเติม
ที่มา
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66646/-blo-scibio-sci-
อ่านเพิ่มเติม
รูปภาพที่นำมาใช้ชัดเจนเเละสวย อธิบายได้ละเอียด
ตอบลบเข้าใจง่ายค่ะ โดนรวมสวยงามค่ะผ่่นนนนค่าาา
ตอบลบเนื้อหาดีค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายมาก
ตอบลบดีๆทำให้เข้าใจง่ายค่ะ
ตอบลบceramic vs titanium - Titanium Arts
ตอบลบIn the past two decades, the world of ceramic has titanium welder grown exponentially. Today, titanium wedding rings only 1.5 billion years ago, titanium easy flux 125 amp welder it is ti89 titanium calculators estimated edge titanium that the