VIDEO
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ( Cell
of organisms)
เซลล์ ( Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ
ไมโครพลาสมา ( Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia
– like organism) มีขนาดประมาณ 0.1 – 0.25 mเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ
ศตวรรษที่
17 กาลิเลโอ ได้ประดิษฐ์แว่นขยายกำลังขยาย 2-5 เท่า
ส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
ค.ศ. 1665
Robert Hook ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบได้สำเร็จ
ซึ่งมีกำลังขยาย 270 เท่า
และนำไปส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆและพบห้องว่างมากมายที่เขาเรียกว่า Cell ค.ศ. 1839 ชวานน์และชไลเดน ได้เสนอ
ทฤษฎีเซลล์ทฤษฎีเซลล์ ( Cell Theory)เสนอโดย Schwann และ Schleiden มีใจความสำคัญว่า
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ ในปัจจุบัน
พบว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ประกอบด้วยเซลล์ก็มี เช่น Virus และ Viroid
เพราะเหตุว่า ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์และโพรโทพลาซึม
- ปี ค.ศ. 1665 รอเบิร์ต ฮุก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพดี และได้ส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆ
และได้พบช่องเล็กๆ จำนวนมาก จึงเรียกช่องเล็กๆ นี้ว่า เซลล์ ( cell) เซลล์ที่ฮุกพบนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว การที่คงเป็น
ช่องอยู่ได้ก็เนื่องจากการมีผนังเซลล์นั่นเอง
- ปี ค.ศ. 1824 ดิวโทเชท์ ได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชและเนื้อเยื่อสัตว์
พบว่าประกอบด้วยเซลล์เช่นกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง
- ปี ค.ศ. 1831 รอเบิร์ต
บราวน์ นักพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ศึกษาเซลล์ขนและเซลล์อื่นๆ ของพืช
พบว่ามีก้อนกลมขนาดเล็กอยู่
ตรงกลาง
จึงให้ชื่อก้อนกลมนี้ว่า นิวเคลียส ( nucleus)
- ปี ค.ศ. 1838 มัตทิอัส
ยาคบ ชไลเดน นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชต่างๆ
และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิด
ประกอบด้วยเซลล์
- ปี ค.ศ. 1839 เทโอดอร์ ชวันน์
นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆ แล้วสรุปว่าเนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยเซลล์
ดังนั้น ในปีเดียวกันนี้ ชวันน์และชไลเดน จึงได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ ( cell
theory) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยเซลล์
และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
-
ปี ค.ศ. 1839 พูร์คินเย นักสัตววิทยา
ชาวเชโกสโลวาเกีย ได้ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ได้พบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียว และอ่อนนุ่ม จึงได้เรียกของเหลวใสนี้ว่า โพรโทพลาซึม ( protoplasm)
- ปี ค.ศ. 1868 ทอมัส
เฮนรี ฮักซ์ลีย์ แพทย์ชาวอังกฤษศึกษาโพรโทพลาซึมและพบว่า
โพรโทพลาซึมเป็นรากฐานของชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาต่างๆ
ของเซลล์เกิดขึ้นที่โพรโทพลาซึม
- ปี ค.ศ. 1880 วัลเทอร์
เฟลมมิง นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบว่าภายในนิวเคลียสของเซลล์ต่างๆ มีโครโมโซม
องค์ประกอบของเซลล์ประกอบด้วย
1.
เยื่อหุ้มเซลล์
2.
นิวเคลียส
3.
ไรโบโซม
4.
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
5.
กอลจิแอพพาราตัส ( golgi apparatus)
6.
ไลโซโซม ( lysosome)
7.
เพอโรซิโซม ( peroxisome)
8.
แวคิวโอล ( vacuole)
9.
ไมโทคอนเดรีย ( mitochondria)
10.
คลอโรพลาสต์ ( chloroplasts)
11.
สารโครงร่างของเซลล์ ( cytoskeleton)
12.
โครงสร้างผิวเซลล์ ( cell surface structure)
13.โครงสร้างเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ( junction between cells)
เยื่อหุ้มเซลล์
โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์
เซลล์มีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
3 ส่วน คือ
1.
ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ แบ่งออกเป็น
1.1 ผนังเซลล์ ( Cell
Wall)
1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell Membrane)
2.
ไซโทพลาซึม ( Cytoplasm) ประกอบด้วย
2.1 ไซโทซอล ( Cytosol)
2.2 ออร์แกเนลล์ ( Organelles)
3.
นิวเคลียส ( Nucleus) ประกอบด้วย
3.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( Nuclear
Membrane)
3.2 นิวคลีโอพลาซึม ( Nucleoplasm) ประกอบด้วย
–
โครมาทิน ( Chromatin)
–
นิวคลีโอลัส ( Nucleolus)
หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์
1.
ผนังเซลล์
เป็นโครงสร้างที่อยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์พบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรีย
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เห็ด รา ยีสต์ สาหร่ายทุกชนิด และพืช โดยผนังเซลล์ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์และทำให้เซลล์คงรูปร่าง
ภาพที่
1 ผนังเซลล์พืช
2.
เยื่อหุ้มเซลล์
เป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส
เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยสารหลัก 2 ชนิด คือ
ฟอสโฟลิพิดและโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจะจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น
ซึ่งจะหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (ส่วนหาง)เข้าหากัน และหันส่วนที่ชอบน้ำ (ส่วนหัว)
ออกจากกัน โดยมีโมเลกุลของโปรตีนกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของฟอสโฟลิพิด
นอกจากนี้ยังมีคอเลสเตอรอล ไกลโคโปรตีน
และไกลโคลิพิดเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย
ภาพที่
2 โครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์
และรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ดังนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน ( Semipermeable Membrane)
3.
ไซโทพลาซึม ( Cytoplasm
)
มีลักษณะเป็นของเหลว
ประกอบด้วยสารที่สำคัญปนอยู่ คือ โปรตีน ไขมัน
คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้น
ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม
ทั้งกระบวนการสร้างและสลายอินทรียสาร ไซโทพลาซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายในที่อาจเรียกว่า
อวัยวะของเซลล์ organelle มีหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่
3.1
ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ( endoplasmic reticulum) มีทั้งชนิดเรียบและชนิดขรุขระ ทำหน้าที่ขนส่งสารภายในเซลล์
ภาพที่ 4 ร่างแหเอนโดพลาซึม
3.2 กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex หรือ golgi bodies หรือ golgi apparatus) เป็นที่สะสมโปรตีนเพื่อส่งออกนอกเซลล์
ภาพที่ 5 กอลจิคอมเพลกซ์
3.3 ไมโทคอนเดรีย ( mitochondria
) มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ มีผนังหุ้มหนาที่ประกอบด้วยเยื่อ 2 ชั้นมีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
ภาพที่ 6 ไมโทคอนเดรีย
3.4 คลอโรพลาสต์ ( chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืชมีหน้าที่ดูดพลังงานแสง
เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ( กระบวนการสร้างอาหารของพืช )
ภาพที่ 7 คลอโรพลาสต์
3.5 แวคิวโอ ( vacuole ) มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช
มีลักษณะเป็นถุงมีเยื่อหุ้มบางๆ และเป็นที่สะสมสารต่างๆ มีน้ำเป็นส่วนใหญ่
เรียกว่า เซลล์แซพ ( cell sap ) มีเกลือ น้ำตาล
และสารเคมีอื่นๆ ละลายอยู่ภายใน
ภาพที่ 8 แวคิวโอ
4.
นิวเคลียส ( Nucleus )
มีลักษณะค่อนข้างกลม
เป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เห็นชัดอยู่ตรงกลางเซลล์
ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่างๆ
ภายในเซลล์ ถูกควบคุมโดยคำสั่งจากนิวเคลียสมีสารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส
ประกอบด้วย
1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( deoxyribonucleic
acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส
2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด ( ribonucleic
acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส
3. โปรตีน
ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน ( histone) โปรตีนโพรตามีน ( protamine)
ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNAส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก
และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก
โครงสร้างของนิวเคลียส
ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
4.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear
membrane)
เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
เรียกว่า เซลล์ยูคาริโอต ( eukaryotic
cell) ได้แก่เซลล์ของพืช สัตว์
โพรทิสตเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่าเซลล์โพรคาริโอต ( prokaryotic
cell) ได้แก่แบคทีเรีย
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี
เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA
มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ
ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป
4.3 นิวคลีโอลัส ( nucleolus)
เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ
ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน
( phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย
นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ
ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก
เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน
การสื่อสารระหว่างเซลล์
เมื่อเท้าของเราไปสัมผัสกับตะปูที่ร้อนเราจะชักเท้าออกจากตะปูทันที
แสดงว่าเซลล์รับความรู้สึกที่ผิวหนังรับความรู้สึกและสื่อสารไปยังเซลล์ประสาท
นำคำสั่งที่อยู่ไขสันหลัง สังการให้เซลล์กล้ามเนื้อที่ขาหดตัวยกขาออกจากตะปู แสดงว่าเซลล์ที่อยู่ไกลกันสามารถสื่อสารกันได้โดยที่เซลล์ประสาทรับความรู้สึก
เมื่อรับความรู้สึก ก็จะมีการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทไปตามใยประสาท
เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปที่ปลายแอกซอนของใยประสาท
ก็จะมีการปล่อยสารสื่อประสาทจากเซลล์หนึ่งส่งต่อให้อีกเซลล์หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับปลายแอกซอน
โดยที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทตัวรับจะมีโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับสารสื่อประสาท
การสื่อสารโดยใช้ฮอร์โมนก็เป็นอีกตัวอย่างของการสื่อสารของเซลล์ที่อยู่ไกลกัน
โดยเซลล์จากต่อมไร้ท่อจะส่งสารเคมีไปตามระบบหมุนเวียนเลือด ไปยังเซลล์ของอวัยวะเป้าหมาย
กระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์มี 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การรับสัญญาณ ( reception)
หมายถึง การที่เซลล์เป้าหมายรับสัญญาณ ( signal) จากภายนอกเซลล์ โดยโปรตีนตัวรับซึ่งอยู่บริเวณผิวของเซลล์เป้าหมาย
จับตัวกับโมเลกุลของสารเคมีที่หลั่งออกมาจากเซลล์อื่น เช่น ฮอร์โมน สารสื่อประสาท
ถ้าเป็นสเตรอยด์ ตัวรับสัญญาณจะอยู่ภายในเซลล์
2. การส่งสัญญาณ ( signal
transduction)
เป็นการเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณ
เมื่อโมเลกุลของฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทจับกับโปรตีนตัวรับ
ทำให้โปรตีนตัวรับเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งสัญญาณ
3. การตอบสนอง ( response)
เป็นขั้นตอนที่เซลล์เป้าหมายแสดงกิจกรรมต่างๆ
ตอบสนองต่อสัญญาณที่ได้รับ เช่น การหลั่งสารออกจากเซลล์
การจัดเรียงตัวของไซโทสเกเลตอน ทำให้เซลล์เปลี่ยนรูปร่าง
การตอบสนองของเซลล์มีความจำเพาะต่อสารเคมี เพราะเซลล์ต่างชนิดกันมีโปรตีนที่เป็นตัวรับต่างชนิดกัน
การตอบสนองจึงขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีนตัวรับของเซลล์นั้นๆ
สิ่งสำคัญในการตอบสนองต่อสัญญาณ คือ
ความสามารถของโปรตีนตัวรับในการเปลี่ยนรูปร่างกลับไปมาได้
เพื่อให้พร้อมที่จะตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณใหม่
การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์
เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป
เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น
และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4
กระบวนการ ดังนี้
1.
การเพิ่มจำนวนเซลล์ ( cell multiplication)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว
เมื่อมีการแบ่งเซลล์
เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น
ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต
ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น
ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น
การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด
2.
การเจริญเติบโต ( growth)
ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว
การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต
เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม
ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ
เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย
ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ
การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน
3.
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์
เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ ( cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น
มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง
เอนโดสปอร์ ( endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี
เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ ( heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น
ๆ ได้
ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ
เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว
ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว
ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง
ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน
เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ
เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน
แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้
4.
การเกิดรูปร่างที่แน่นอน ( morphogenesis)
เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ
ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ
ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน
ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น
โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว
และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ
เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม
ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ แบบ
ที่ม
า
http://thaigoodview.com/node/48923
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66976/-blo-scibio-sci-
https://sites.google.com/site/laddawankokapan/jkjjlk